หจก.เนเชอรัล-เอ็นเนอยี่ เรนิวเอเบิล
www.naturalenergyth.com
SHARE:
7. วิธีการเลือกซื้อกังหันลมผลิตไฟฟ้า Wind Turbine


          ปัจจุบันนี้กังหันลมผลิตไฟฟ้าเริ่มมีคนให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก ความก้าวหน้าของกังหันลมผลิตไฟฟ้าได้ทำการพัฒนาอย่างต่อเนื่องให้มีประสิทธิภาพเพื่อให้เหมาะสมกับผู้บริโภค เนื่องจากข้อได้เปรียบของกังหันลมผลิตไฟฟ้าเมื่อเทียบกับโซล่าเซลล์พลังงานแสงอาทิตย์ แผงโซล่า solar cell คือกังหันลมสามารถผลิตพลังงานได้ทั้งกลางวันและกลางคืน (ตลอด 24ชั่วโมง) ตราบเท่าที่มีลมที่สำคัญที่สุด คือ "เราผลิตได้เอง"

กังหันลมผลิตไฟฟ้า

    กังหันลมผลิตไฟฟ้า

          คือ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า (อาจเรียกว่าเครื่องปั่นไฟ) ขับเคลื่อนด้วยกังหันซึ่งใช้กำลังลมขับใบพัดทำหน้าที่รับกำลังลมมาเปลี่ยนให้เป็นแรงหมุนนำไปหมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าใบพัดและเครื่องกำเนิดไฟฟ้ายึดติดเป็นชุดเดียวกันติดตั้งไว้บนเสาสูงเพื่อให้ได้กำลังลมแรง แล้วจึงต่อสายไฟลงมาใช้งานกำลังของกังหันลมผลิตไฟฟ้า คือ ปริมาณไฟฟ้าที่เครื่องสามารถผลิตขึ้นมาได้ขนาดเล็กจะบอกหน่วยกำลังเป็น วัตต์ (Watt) ถ้ากำลังสูงขึ้นเป็น ขนาดใหญ่จะบอกเป็นกิโลวัตต์ (Kilowatt) 1 กิโลวัตต์ = 1,000 วัตต์ การบอกกำลังนี้จะต้องกำกับด้วยว่า ณ ความเร็วลมเท่าไร เวลานำไปใช้งานจริงกำลังที่จะได้รับจริง ๆ นั้นขึ้นอยู่กับความเร็วลม ลักษณะของใบพัดที่ดีจะต้องเป็นไฟเบอร์


 ข้อมูลควรรู้
          ความเร็วลมจากธรรมชาติจะแรงหรืออ่อนเราใช้หน่วยวัดความเร็วหลายอย่างเช่น ไมล์ต่อชั่วโมง (Mile/Hour mph) หรือ คำนวณลงมาเป็นฟุตต่อนาที่ (Foot/Minute) และกิโลเมตรต่อชั่วโมง (Kilometer/Hour) หรือคำนวณลงมาเป็นเมตรต่อ วินาที (Meter/Second)  โดยการคำนวณดังนี้ ความเร็วลมกิโลเมตร : ชั่วโมงคูณด้วย1,000 ให้กลายเป็นเมตร : ชั่วโมง เมื่อหารด้วย 60 จะได้เป็นเมตรต่อนาทีและหารด้วย 60 อีกครั้งเพื่อให้เป็นเมตร:วินาที ความเร็วลมระดับที่กังหันลมสามารถเริ่มต้นทำงานและผลิตไฟฟ้าได้เรียกว่าความเร็วลมเข้าระบบ (Cut in Wind Speed) แต่ในขณะนี้อาจได้กำลังน้อยหรือยังไม่ได้กำลังเลย (ความเร็วลมประมาณ 6 เมตร : วินาที) การจำหน่ายหรือขายไฟฟ้าจะกล่าวถึง พลังงานเท่านั้นและจะซื้อขายกันเป็นจำนวนหน่วย (1 หน่วย = 1 กิโลวัตต์ :ชั่วโมง) ปัจจุบันการไฟฟ้ารับซื้อพลังงานไฟฟ้าผลิตจากลมในราคาหน่วยละ 2.60 บาท +เงินเพิ่มให้เป็นพิเศษอีก 4.50 บาท รวมเป็น 7.10 บาท

 ตัวอย่าง
   
          ความเร็วลม 18 กิโลเมตร : ชั่วโมง เมื่อคิดเป็นเมตร : วินาทีจะได้ 18 x 1000 /(60x60) = 5 เมตรต่อวินาที ข้อมูลที่ควรจำ  1 เมตร : วินาที = 3.6 กิโลเมตร : ชั่วโมง = 2.24 ไมล์ :ชั่วโมง

กังหันลมผลิตไฟฟ้า


 หมายเหตุ

           กังหันลมผลิตไฟฟ้าโดยทั่วไปจะทำงานผลิตกระแสไฟฟ้าได้เต็มพิกัดที่่ความเร็วลมประมาณ 10-12 เมตร:วินาทีและถ้าความเร็วลมลดลงครึ่งหนึ่งเหลือประมาณ    5-6 เมตร: วินาทีกำลังไฟฟ้าที่ผลิตได้จะลดลงเหลือเพียง 1 ใน 8 เท่านั้น ความเร็วในการหมุนของกังหันลมเป็นจำนวนรอบ : นาทีถ้าเราไปยืนดู กังหันลมผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่ซึ่งกำลังหมุนอยู่แล้วอยากรู้ความเร็วรอบเท่าไหร่ ใช้นาฬิกาจับเวลาภายในเวลา 1 นาทีใบพัดของกังหันจะหมุน ผ่านเสากี่ครั้งแล้วหารด้วยจำนวนใบพัดก็จะได้เป็นความเร็วรอบ : นาที

 ตัวอย่าง

            ในการจับเวลา 1 นาที นับจำนวนครั้งที่ใบพัดหมุนผ่านเสาได้ 180 ครั้งและกังหันลมเป็นชนิด 3 ใบพัด ความเร็วรอบในขณะนั้นเท่ากับ 180/3 = 60 รอบ : นาที

 แบตเตอรี่ (Battery)

           ทำหน้าที่ประจุ (ชาร์จ) พลังงานเก็บไว้ในแบตเตอรี่เปรีเสมือนการสูบน้ำเก็บไว้ในถังเครื่องสูบน้ำสูบได้ปริมาณไม่มากแต่สูบตลอดทั้งวันทั้งคืนปริมาณน้ำจึงถูกเก็บไว้ในถัง ความจุของถังควรมากกว่าขีดความสามารถที่่สูบได้เป็น 2 หรือ 3 เท่าขนาดของแบตเตอรี่ก็เช่นเดียวกันควรมีความจุมากกว่าพลังงานที่ผลิตได้ในรอบสัก 2 หรือ 3 เท่า

กังหันลมผลิตไฟฟ้า

 วิธีคำนวณ

            ขนาดความจุของแบตเตอรี่ จะบอกเป็น แอมแปร์ : ชั่วโมง (Ampare-Hour หรือ Ah) เช่น แบตเตอรี่รถยนต์ ขนาด 70 Ah ผู้ผลิตจะมีข้อความแสดงว่า 12 V.70 Ah
(20HR) อย่างนี้หมายความว่าแบตเตอรี่ลูกนี้เมื่อชาร์จไฟเต็มแล้ว สามารถใช้งานที่กระแส 3.5 แอมแปร์ได้นาน 20 ชั่วโมง ( 70 ? 20 = 3.5amและ 3.5 am x 20 ชั่วโมง = 70 Ah)

 เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า (Inverter)

           ทำหน้าที่เปลี่ยนไฟฟ้ากระแสตรง (DC) ให้กลายเป็นไฟฟ้ากระแส-สลับ (AC) พร้อมทั้งปรับแรงดัน (Volt)ให้ได้ตามที่ต้องการใช้งานและจะต้องมีขนาดกำลังวัตต์ 
(Watt) เหมาะสมกับความต้องการใช้งาน

 ข้อควรระวัง

          อินเวอร์เตอร์จะมีระบบสวิทช์เปิดปิดหากไม่มีการใช้งาน เพื่อลดการสูญเสียพลังงานจากแบตเตอรี่และยังเป็นการยึดอายุการใช้งานของอินเวอเตอร์หลังจากที่ไม่ใช้
ควรปิดทุกครั้งที่เลิกใช้หรือไม่ควรเปิดทิ้งไว้ตลอดเวลา

    ชุดรับรองการหันเห (Yaw bearing)

          เนื่องจากกระแสลมเปลี่ยนทิศทางอยู่ตลอดเวลา กังหันลมจึงจำเป็นต้องปรับทิศทางตามลมทำให้ต้องมีลูกปืนรองรับชุดเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพร้อมทั้งใบพัด (Yaw 
Bearing) ทำให้สามารถปรับทิศทางได้รอบตัวและต้องมีหางเสือ (Tail Vane) เพื่อช่วยให้กังหันตรงทางลงอยู่เสมอ

กังหันลมผลิตไฟฟ้าแนวแกนตั้ง

 

เพิ่มเติมอื่นๆ
18. ระบบโซล่าเซลล์ On Grid คืออะไร
อ่านต่อ
12. หลอดไฟ LED กินไฟน้อยลงแต่สว่างมากขึ้น จริงหรือ
อ่านต่อ
6. การดูแลบำรุงรักษาแบตเตอรี่
อ่านต่อ
4. ความรู้เกี่ยวกับแผงโซล่าเซลล์พลังงานแสงอาทิตย์
อ่านต่อ
19. แผงโซล่าเซลล์ควรหันไปทางทิศใด
อ่านต่อ
20. ระบบ On Grid และ Off Grid ต่างกันอย่างไร
อ่านต่อ
ติดต่อสอบถาม
ออกแบบและติดตั้ง : กังหันลมผลิตไฟฟ้า Solar Farm Solar rooftop ไฟถนนพลังงานแสงอาทิตย์ ไฟกระพริบพลังงานแสงอาทิตย์ กังหันน้ำผลิตไฟฟ้า และอุปกรณ์พลังงานทดแทนอื่นๆ แบบครบวงจร ฯลฯ
ส่งข้อความติดต่อสอบถาม
Subject *
Number for confirm!:
5846
Contact details *
Our Social media